มาตรา 33 ลูกจ้างในสถานประกอบการ
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเดือนละ 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน คุ้มครอง 7 กรณี ดังนี้
สมทบเงินไว้ ให้ได้รับสิทธิ
สำนักงานประกันสังคมกำหนดให้จ่ายเงินเข้าประกันสังคม โดยคำนวณจาก 5% ของเงินเดือน (คำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) ดังนั้น ผู้ประกันตนจึงจ่ายเงินสมทบสูงสุด ไม่เกิน 750 บาท/เดือน นอกจากนี้ นายจ้าง และรัฐบาล จะร่วมจ่ายเงินสมทบในแต่ละเดือนให้ด้วย
ตัวอย่างการคำนวณเงินสมทบ
* ยอดรวม เงินสมทบ (เงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเอง + เงินสมทบที่ได้จากนายจ้าง และรัฐบาล) สามารถขอรับเงินคืนได้เมื่อถึงวัยเกษียณ
เมื่อวันที่ 10 พค. 2565 มีการแก้ไขสิทธิประโยชน์ ประกันสังคมกรณีชราภาพ เพิ่ม “หลักการ 3 ขอ” (ขอเลือก-ขอคืน-ขอกู้) เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยผู้ประกันตนสามารถนำเงินชราภาพออกมาใช้ก่อนได้ ซึ่งมีรายละเอียด คือ
- ขอเลือก– ผู้ประกันตน (อายุ 55 ปีบริบูรณ์) สามารถเลือกรับ เงินบำเหน็จ หรือ เงินบำนาญชราภาพได้
- ขอคืน– ผู้ประกันตน (ก่อน อายุ 55 ปีบริบูรณ์) สามารถนำเงินสะสมกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ได้
- ขอกู้– ผู้ประกันตนสามารถนำเงินสะสมกรณีชราภาพไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินได้
นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ อื่น ๆ เช่น
- ขยายอายุผู้ประกันตน จาก 60 ปี เป็น 65 ปี
- เพิ่ม เงินสงคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร จาก 90 วัน เป็น 98 วัน
- เพิ่ม เงินทดแทนขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ จาก 50% เป็น 70%
- เพิ่ม ความคุ้มครองกรณีสงเคราะห์บุตร ต่ออีก 6 เดือน
ข้อมูลจาก : สำนักงานประกันสังคม และ Portal Info