ลูกจ้างที่อายุเกิน 60 ปี มีสิทธิขอเกษียณได้

 

กฎหมายแรงงานน่ารู้

เมื่อลูกจ้างทำงานจนอายุครบ 60 ปีแต่ไม่ได้มีการขอเกษียณถือว่าเป็นการสละสิทธิการขอเกษียณ แต่หากมีการทำงานต่อกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลากี่ปี
หรือกี่เดือนก็ตาม ลูกจ้างจะยังถือว่ามีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดที่จะเกษียณได้ เพราะยังคงเป็นบุคคลที่ “มีอายุกว่า 60 ปี” จึงสามารถแสดงเจตนาขอเกษียณได้ หากนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย ก็ถือว่าเป็นการไม่ปฎิบัติตามกฎหมายในมาตรา 118/1 วรรคสอง

เรื่องนี้มีข้อหารือกรมสวัสดิการแรงงาน เป็นเรื่องที่ลูกจ้างอายุครบ 60 ปีเมื่อ พ.ศ. 2563 แต่มิได้ขอเกษียณ โดยมีการทำงานกับนายจ้างเรื่อยมา โดยยังไม่เคยได้รับค่าชดเชย ต่อมาลูกจ้างแสดงเจตนาขอเกษียณอายุตามกฎหมาย กรณีนี้ถือว่าเมื่อลูกจ้างมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว จึงมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุต่อนายจ้าง เมื่อลูกจ้างยังไม่แสดงเจตนาเกษียณอายุและนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยจึงเป็นการปฎิบัติที่ถูกต้องแล้ว

การที่ลูกจ้างทำงานเรื่อยมาจึงเป็นการสละสิทธิเกษียณ และต่อมาขอใช้สิทธิเกษียณและนายจ้างเพิกเฉยไม่จ่ายค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุ จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

(อ้างอิง: ข้อหารือกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่ รง 0502/8164 ลว 25 ตุลาคม 2564)

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจเฟสบุค กฎหมายแรงงาน