ผู้ประกันตนมาตรา 39

รู้หรือไม่ว่า แม้ลาออกจากงานประจำแล้ว ก็ยังสามารถรักษาสิทธิประกันสังคมในการรักษาพยาบาลได้ โดยรีบยื่นสมัครมาตรา 39 ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน

 

 

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงานและไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

 

การยื่นใบสมัคร

ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน

 

 

สถานที่ยื่นใบสมัคร     

กรุงเทพฯ   ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่
ภูมิภาค      ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา      (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

 

 

หลักฐานการสมัครมาตรา 39 

  1. แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
  2. บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

 

เงินสมทบที่ต้องนำส่งสำนักงานประกันสังคมเดือนละ 432 บาทต่อเดือน

เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน) ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ) ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33

 

วิธีการจ่ายเงินสมทบมาตรา 39

  1. จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมแบบส่งเงินสมทบฯ (สปส. 1-
  2. หักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์มี ตามที่กำหนด ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ประกันสังคม https://www.sso.go.th/
  3. จ่ายด้วยเงินสดที่ธนาคารตามกำหนด ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ประกันสังคม https://www.sso.go.th/
  4. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7- ELEVEN ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท สามารถจ่ายเงินสมทบได้ทุกสาขา
  5. จ่ายเป็นธนาณัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ พร้อมแบบส่งเงินสมทบ สปส. 1-11 ถึงสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (กรณีจ่ายผ่านธนาณัติ แนะนำให้สอบถามเจ้าหน้าที่ด้วยว่า สั่งจ่าย ตู้ ป.ณ. ใด)
  6. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ จะมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท
  7. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เพย์สบายที่มีสัญลักษณ์ “แจ๋ว” ทุกสาขาทั่วประเทศ จะมีค่าธรรมเนียม 10 บาท

 

 ขอกำหนดปฏิบัติของผู้ประกันตนตามมาตรา 39

  1. ต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน
  2. แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงให้สำนักงานประกันสังคมดังนี้

 

เหตุที่ทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน

  1. ตาย
  2. กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
  3. ลาออก
  4. ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ)
  5. ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน (สิ้นสภาพในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน)

 

* กรณีผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่กลับไปทำงานประจำ ไม่ต้องทำเรื่องลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39
* หากผู้ประกันตน มาตรา 39 ที่สมัครใจส่งเงินสมทบเอง ได้งานประจำที่สถานประกอบการใหม่

นายจ้างหรือ HR จะดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนย้ายมาตรา เป็นมาตรา 33 (สปส.1-03) ให้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เข้าทำงาน โดยผู้ประกันตนไม่ต้องทำเรื่องลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 เอง

⚠️ ผู้ประกันตน มาตรา 39 ไม่ต้องแจ้งลาออก หากค้างชำระเงินสมทบ สามารถชำระได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่ง

 

ข้อมูลจาก : สำนักงานประกันสังคม